วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าไทยที่ส่งออกไปญี่ปุ่น

สินค้าส่งออกไปญี่ปุ่น



ไก่แปรรูป
ไก่แปรรูป เป็นสินค้าที่มีมูลค่ามากที่สุดในสินค้าประเภทอาหารของไทยที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังเป็นตลาดไก่แปรรูปที่สำคัญที่สุดของไทยด้วย โดยไทยส่งออกไก่แปรรูปไปญี่ปุ่นเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.28 ของการส่งออกไก่แปรรูปไปทั่วโลก ทั้งนี้ ไก่แปรรูปของไทยได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น เนื่องจากไทยมีจุดแข็งในด้านกำลังการผลิตและฝีมือการตัดแต่งแปรรูปชิ้นส่วนไก่ ทำให้ไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 (ร้อยละ 58.4) ในตลาดญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี จากการที่ไก่สดของไทยถูกสั่งห้ามนำเข้าญี่ปุ่นเพราะไทยยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ว่าปลอดจากไข้หวัดนก ทำให้ไทยสูญเสียโอกาสในการส่งออกไก่สดไปยังญี่ปุ่นพอสมควร โดยทางการไทยกำลังพยายามผลักดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดตลาดให้ไก่สดของไทยอีกครั้ง เมื่อประกอบกับการที่ทางผู้นำเข้าไก่สดของญี่ปุ่นเองก็พยายามผลักดันให้ทางการญี่ปุ่นเปิดตลาดไก่สดให้ประเทศที่ติดอยู่ในบัญชีแหล่งแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกเช่นกัน เนื่องจากไม่พอใจการผูกขาดการส่งออกไก่สดของประเทศบราซิลไปยังญี่ปุ่น ดังนั้นการส่งออกไก่โดยรวมของไทยมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นได้อีกหากความพยายามผลักดันดังกล่าวประสบความสำเร็จ
วิเคราะห์  SWOT
จุดแข็ง
1.ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ
2.มีคู่ค้าที่มีมาตรฐาน
3.มีเงินทุนหนา
4.มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ
จุดอ่อน
1.Internal  Comunication
2.Skill   of  labors
3.Made    by   order
4.ขาดบุคลากรด้านเทคนิคและวิจัย
โอกาส
1.เนื่องจากอุตสาหกรรมเนื้อไก่เป็นอุตสาหกรรมที่มี  Supply  chain ยาวมากจึงมีการทำ Value added  ในmaterial ขึ้น
2.การพัฒนาบุคลากรเป็นการก่อให้เกิด win  win  strategies
3.ไทยมีส่วนแบ่งตลาดไก่แปรรูปในญี่ปุ่นที่ 58.8 %
4.ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกไก่ที่สำคัญตลาดหนึ่งของไทย
อุปสรรค
1.มีมาตรการใหม่ๆเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ประเทศไทยต้องหาวิธีการรับมือกับมาตรการเหล่านั้นให้ได้เพื่อทำลายกำแพงปัญหาต่างๆและเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในการส่งออก
2.ต้นทุนสูงขึ้นเนื่องจากวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ดีขึ้น

              ที่มา   http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=90020#ixzz15oeuuMxh
                            Under Creative Commons License:
Attribution Non-Commercial No Derivatives

                                www.econ.tu.ac.th/doc/seminar/12/seminar_feb12_paper3.ppt

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ





การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง



การตลาดระหว่างประเทศ   คือ การทำธุรกิจ
ค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและ
บริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่าง
ประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด
หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดย
จุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ



ที่มา...www.webcenter.name/Business  

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศญี่ปุ่น(การเมืองการปกครอง)

การเมืองการปกครอง
ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศ โดยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐ อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่กับนายกรัฐมนตรีและสมาชิกอื่น ๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของชาวญี่ปุ่น พระจักรพรรดิทรงทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐในพิธีการทางการทูต พระองค์ปัจจุบันคือจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ส่วนรัชทายาทคือมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ
ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น
องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 国会 Kokkai ?) หรือที่เรียก "ไดเอ็ต" เป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ญี่ปุ่น: 衆議院 Shugi-in ?) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และมนตรีสภา (ญี่ปุ่น: 参議院 Sangi-in ?) เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ
ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรปโดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นต้นแบบ เช่นใน พ.ศ. 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งของตน เรียก "มินโป" (ญี่ปุ่น: 民法) โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน

กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ (ญี่ปุ่น: 憲法) และบรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิเป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรเป็นการประกาศใช้ ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้วพระจักรพรรดิไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ส่วนศาลของญี่ปุ่นนั้นแบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้ ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นทั่วไป ศาลแขวง และศาลครอบครัว, ศาลอุทธรณ์ และศาลสูงสุด ส่วนกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก "รปโป" (ญี่ปุ่น: 六法) มีสภาพเป็นประมวลกฎหมายที่สำคัญหกฉบับ